‘ใบขับขี่’ คือ เอกสารทางราชการที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ขับขี่ยานยนต์บนถนนสาธารณะ แน่นอนว่าใบอนุญาตเอง ก็มีหลายประเภทตามการใช้งานของยานพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งอยู่บนถนนสาธารณะ ความยากง่ายในการได้มาซึ่งใบอนุญาตในแต่ละประเทศก็ต่างกัน อีกทั้งยังมีข้อกำหนดเรื่องอายุกับประสบการณ์อีกด้วย วันนี้สำหรับคนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์เราจึงนำสาระความรู้ดีๆ เหล่านี้มาฝากกัน
ค่าธรรมเนียมการสอบใบขับขี่จักรยานยนต์ ได้แก่
- ใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคล 1 ปี ค่าธรรมเนียม 50 บาท
- ใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคล 5 ปี ค่าธรรมเนียม 250 บาท
- ใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคล 3 ปี ค่าธรรมเนียม 150 บาท
คุณสมบัติที่ต้องมี
- มีความรู้ – ความสามารถในการขับรถ
- มีความรู้เรื่องในพระราชบัญญัติรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
- ไม่พิการจนไม่อาจขับได้
- ไม่มีโรคประจำตัวเป็นอันตรายขณะขับขี่
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
- ไม่มีใบขับขี่ประเภทเดียวกันอยู่แล้ว
- ไม่เป็นผู้ที่ถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
หลักฐานประกอบคำขอ
- ใบรับรองแพทย์ ทั้งทางกาย-ทางจิต ต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน
- ใบผ่านทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เช่น…
- ทดสอบมองเห็นสี ที่มีความจำเป็นในการขับ
- ทดสอบสายตาทางลึก
- ทดสอบสายตาทางกว้าง
- ทดสอบปฏิกิริยาเท้า
การทดสอบขับรถจักรยานยนต์
- ขับโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
- ขับทรงตัวบนทางแคบ
- ขับผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัว Z
- ขับผ่านโค้งซ้ายกับโค้งขวารูปตัว S
- ขับหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
วิธีดำเนินทำใบขับขี่จักรยานยนต์
ก่อนอื่นต้องจองคิวอบรมก่อนซึ่งคุณสามารถจองคิวได้ถึง 2 ช่องทาง ได้แก่…
- จองคิวอบรมด้วยตัวเองมากับหลักฐานประกอบคำขอ
- จองคิวอบรมทางโทรศัพท์
ความรู้ที่คุณจำเป็นต้องได้เข้ารับการศึกษาอบรม ได้แก่…
- กฎหมายการจราจรทางบก – กฎหมายรถยนต์ 30 นาที
- เทคนิคขับรถอย่างปลอดภัย 30 นาที
- กฎหมายขนส่งทางบก, กฎหมายแพ่ง, กฎหมายอาญา 30 นาที
- หน้าที่ของผู้ขับรถและวิธีบำรุงรักษารถ 30 นาที
- มารยาทในการขับรถบนท้องถนน 30 นาที
- การส่งเสริมสุขภาพพลานามัย 30 นาที
- หน้าที่กับความรับผิดชอบ 30 นาที
- หัวใจของการบริการขนส่ง 30 นาที
- วิธีตรวจประสิทธิภาพของรถทั้งก่อนและหลังใช้ 30 นาที
- การขับรถลากจูง และขับรถลากจูงอย่างถูกวิธี 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย 6 ชั่วโมง
- ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย 6 ชั่วโมง
สำหรับใบขับขี่รถยนต์ทุกประเภท ทางราชการจะต้องตรวจสอบประวัติทางอาชญากรรมว่า คุณจะต้องไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุก ยกเว้นแต่ในกรณีที่กระทำความผิด โดยประมาทไม่ได้เกี่ยวกับการใช้รถ หรือเป็นความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วเกิน 3 ปี เพียงแค่จ่ายค่าปรับเท่านั้น