กฎหมายจราจรบนทางด่วนมีอะไรบ้าง

Highway-traffic-law-news-site

ไม่ว่าคุณจะขับรถไปในถนนหนทางใดก็แล้วแต่ แน่นอนว่าจะต้องมีกฎหมายควบคุมในพื้นที่นั้นๆ อย่างเข้มงวด เพื่อให้การจราจรนั้น มีความเป็นระเบียบ ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดการเสียชีวิตบนท้องถนน มีความปลอดภัย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้ขับขี่มือใหม่หลายๆ คน อาจจะยังไม่เข้าใจ ก็คือ กฎหมายจราจรบนทางด่วนนั้น มีความแตกต่างกับกฎหมายจราจรบนท้องถนนอย่างไร

ทางด่วน ช่วยทำให้การเดินทางเป็นไปได้อย่างสะดวก

แน่นอนว่าจากการอาศัยอยู่ในเมืองหลวงของประเทศไทย อย่างกรุงเทพฯ นั้น ผู้ใช้ถนนแต่ละคน ล้วนต้องเคยได้ใช้บริการบนทางด่วนกันอยู่แล้ว เพื่ออำนวยความสะดวก พร้อมทั้งมอบความรวดเร็วในการเดินทาง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีคนที่ไม่เข้าใจกฎหมายจราจรบนทางด่วนอย่างดีพอ และบางคนอาจเผอเรอ กระทำความผิดทางกฎหมายโดยที่ไม่ตั้งใจ เพราะไม่รู้จริงๆ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เราจะมาแนะนำให้คุณผู้อ่าน ได้ทำความรู้จักเกี่ยวกับกฎหมายจราจรบนทางด่วนกันว่ามีอะไรบ้าง

news-site-Highway-traffic-law

ทางด่วน โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 7 สายหลัก ได้แก่

  • ทางพิเศษเฉลิมมหานคร :: ทางด่วนที่ 1
  • ทางพิเศษสายบางนา – อาจณรงค์ :: ทางด่วนที่ 3
  • ทางพิเศษศรีรัช :: ทางด่วนที่ 2
  • ทางพิเศษฉลองรัช :: รามอินทรา – อาจณรงค์ และรามอินทรา – วงแหวนรอบนอก
  • ทางพิเศษบูรพาวิถี :: บางนา – ชลบุรี
  • ทางพิเศษอุดรรัถยา :: บางปะอิน – ปากเกร็ด
  • ทางพิเศษกาญจนาภิเษก :: บางพลี – สุขสวัสดิ์

การจราจรบนทางด่วนนั้นจัดเป็นการจราจรในระยะเส้นทางยาว ไม่ต้องติดไฟแดง และก็จะมีจุดขึ้น-ลง ที่คุณจำเป็นต้องรู้และต้องสนใจป้ายต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ลงในจุดถูก ไม่เสียเวลา

ขั้นตอนการใช้จราจรบนทางด่วน

  • ก่อนอื่นคุณจะต้องจ่ายค่าผ่านทางเสียก่อน ซึ่งช่องทางในการจ่ายค่าผ่านทางของทางด่วนนั้น ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ช่องทางได้แก่ ช่องจ่ายเงินสดธรรมดา และช่องจ่ายเงิน Easy Pass ซึ่งบางช่อง ก็จะเปิดให้บริการเป็นรถ 4 ล้อทั่วไป แต่บางช่องก็เป็นช่องพิเศษ เพราะฉะนั้นก็อย่าลืมเลือกช่องทางจ่ายเงินให้ถูกต้องด้วย
  • อย่าลืมสังเกตป้ายต่างๆ ให้ดี โดยเฉพาะป้ายที่จะคอยเตือนคุณอยู่เสมอว่า ใกล้ถึงจุดที่คุณจะต้องลงแล้ว
  • และบนทางด่วนนี้ ก็ยังมีป้ายจำกัดความเร็วอีกด้วย ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะมองว่าทำไม ในเมื่อขึ้นชื่อว่าทางด่วนแล้ว ถึงยังต้องมีป้ายจำกัดความเร็วอีก โดยแม้จะมีชื่อเรียกว่าทางด่วนก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะขับรถเร็วขนาดไหนก็ได้ เพียงแต่เป็นการร่นระยะทาง ที่ไม่มีการติดไฟแดง ไม่มีการติดรถที่มาจากซอกซอยต่างๆ นั่นเอ และการจำกัดความเร็วนี้ ก็มีการจัดตั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทางด่วนโดยเฉพาะ ถ้าเกิดไม่มีการจำกัดความเร็วทุกคนจะขี่เร็วขนาดไหนก็ได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ นอกจากจะทำให้ตนเองเกิดอุบัติเหตุแล้ว ก็อาจจะนำพาผู้อื่นให้เกิดอุบัติเหตุไปด้วยก็ได้ เพื่อความปลอดภัยบางครั้งก็จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจออกตรวจตรา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น รถกระบะที่ให้ผู้โดยสารนั่งข้างหลัง โดยที่ไม่มีแคป, บรรทุกของเกินกำหนด, บรรทุกของแล้วมัดไม่แข็งแรง, เมาแล้วขับ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมากขึ้นทั้งนั้น

และจากที่เราได้กล่าวมานี้ คุณผู้อ่านก็คงจะทราบดีแล้วว่า กฎระเบียบในการใช้รถใช้ถนนนั้น มีความสำคัญมากเพียงไหนกฎระเบียบที่ตั้งขึ้นมานั้น เพื่อให้คุณเดินทางไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย และทุกชีวิตใช้ถนนได้อย่างมีความสุข